ประวัติพระคาถาชินบัญชร
พระคาถาชินบัญชรถือเป็นคาถาที่มีความศักดิ์สิทธิ์อีกหนึ่งคาถา ที่ตกทอดสืบมาจากลังกาโดยท่านเจ้าประคุณสมเด็จฯ ได้ค้นพบในคัมภีร์โบราณและได้ทำการดัดแปลงแต่งเติมให้มีเอกลักษณ์พิเศษและดีมากยิ่งขึ้น ซึ่งหากผู้ใดที่ได้ทำการสวดภาวนาคาถานี้เป็นประจำจะทำให้เขาผู้นั้นได้รับความเป็นสิริมงคลแก่ตนเอง มีเมตตามหานิยม ขจัดภัยอันตรายและคุณไสยต่าง ๆ รวมไปถึงศัตรูยังไม่กล้าเข้ามากล้ำกลายเขาผู้นั้นอีก โดยพระคาถานี้มีอายุยาวนานนับร้อยปีตั้งแต่ ช่วงสมัยของรัชกาลที่ 2 มาจนถึงปัจจุบันทำให้ความศักดิ์สิทธิ์เหล่านี้ เป็นที่เคารพบูชาของชาวไทยที่นับถือศาสนาพุทธเป็นอย่างมาก และยังนิยมท่องพระคาถานี้เพื่อเสริมความเป็นสิริมงคลให้กับตนเอง รวมไปถึงยังป้องกันภยันตรายต่าง ๆ ให้กับตนได้อีกด้วย ซึ่งในปัจจุบันก็ยังคงเป็นที่ถกเถียงกันอยู่ว่าแท้ที่จริงแล้วพระคาถาบทนี้ใครเป็นผู้แต่งขึ้นมา ระหว่างสมเด็จพระพุทธจารย์โต พรหมรังษี และพระมหาเถระรูปหนึ่ง ที่มีความเชี่ยวชาญบาลีปกรณ์ จากจังหวัดเชียงใหม่ แต่ส่วนใหญ่ก็ได้ลงความเห็นว่าผู้แต่งคือสมเด็จพระพุฒาจารย์โตนั่นเอง ซึ่งแท้ที่จริงแล้วท่านเป็นเพียงผู้นำพระคาถาชินบัญชรมาเผยแพร่ต่อเท่านั้น เพราะหลักฐานทางประวัติศาสตร์ได้มีการบันทึกไว้ว่าสมเด็จพระพุฒาจารย์โต ได้ไปสวดพระคาถานี้เพื่อถวายองค์พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 4 และด้วยความที่บทสวดมีความไพเราะพระองค์ จึงได้ซักถามท่านว่าได้แต่งเองหรือไม่ไปเอาบทสวดนี้มาจากที่ใด ซึ่งท่านก็ได้ตอบว่า พระคาถาบทนี้เป็นสำนวนเก่าของเมืองเหนือ ซึ่งท่านก็ได้ทำการแก้ไขและดัดแปลงใหม่ ตัดตอนให้สั้นลง เพราะของลังกาจะยาวกว่านี้ นั่นก็ทำให้ความเป็นไปได้ของการคาดเดาว่าพระภิกษุชาวล้านนาเป็นคนแต่งอาจจะเป็นความจริง คาถาชินบัญชร ควรสวดวันไหน มีวิธีอย่างไร พระคาถาชินบัญชรควรเริ่มสวดในวันพฤหัสบดีเพราะในวันนี้ถือเป็นวันไหว้ครู โดยมีพิธีในการสวดดังนี้ เตรียมดอกไม้สามสีหรือดอกบัว 9 ดอกหรือจะเป็นดอกมะลิ 1 กำก็ได้ จุดธูปเป็นเลขคี่ไม่ว่าจะเป็น 3 , 5 , หรือ…